สถานการณ์ต่างๆในปัจจุบันนี้ กำลังทำให้ใครหลายคนอยู่ในภาวะที่ไม่สงบ หนึ่งในผลกระทบที่รุนแรงมากที่สุดทางเศรษฐกิจ ก็คือ ปัญหาการตกงาน ครั้งหนึ่ง คุณต้องรีบเร่งเพื่อไปให้ทันการประชุมครั้งสำคัญ หลังจากนั้น คุณถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลเรียกพบ แล้วกลับออกมาพร้อมกลับการตกงานภายในเวลาเพียง 10 นาที หลายคนไม่อยากเชื่อว่าจะเกิดขึ้นกับพวกเขา แต่การถูกลอยแพ การตกงาน การปรับเปลี่ยนตำแหน่ง และการไล่ออก ก็กลายมาเป็นเงื่อนไขธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยไม่เลือกอายุ เชื้อชาติ หรืออาชีพ ก็ทำให้พวกเขาต้องตระหนักถึงสิ่งเหล่านั้น
ปัญหาคนว่างงาน
วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ประโยชน์ของตัวเลขการว่างงาน
1.เป็นเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานในประเทศจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถบอกภาวะเศรษฐกิจได้เช่น ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ อัตราการว่างงานค่อนข้างสูง ในช่วงภาวะเศรษฐกิจขยายตัว อัตราการว่างงานจะลดลง อย่างไรก็ตาม แม้ในช่วงที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง การจ้างงานขยายตัวมากจนถึงระดับการจ้างงานเต็มที่ (full employment) อัตราการว่างงานก็ยังมีค่ามากกว่าศูนย์ เรียกอัตราการว่างงาน ณ ระดับการจ้างงานเต็มที่ว่า อัตราการว่างงานตามธรรมชาติ (The Natural Rate of Unemployment) หรืออัตราการว่างงานที่เป็นเป้าหมาย (The Target Rate of Unemployment) จะถือว่า การว่างงานดังกล่าวไม่เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ
2.เป็นเครื่องชี้อัตราการว่างงานในประเทศ ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนแก้ปัญหาโดยการดำเนินนโยบายสร้างงานให้แก่แรงงานของประเทศเพื่อให้มีรายได้ใช้ในการบริโภค และประเทศสามารถใช้ประโยชน์จากแรงงานได้อย่างเต็มที่ เกิดผลดีแก่เศรษฐกิจของแรงงานและของประเทศ
3.เป็นเครื่องชี้การจัดทำงบประมาณการจ่ายเงินชดเชยการว่างงาน ในประเทศที่มีระบบประกันสังคม มีกองทุนจ่ายเงินทดแทนการว่างงาน กองทุนจะต้องจัดทำงบประมาณรายจ่ายเงินทดแทนการว่างงานซึ่งต้องอาศัยตัวเลขอัตราว่างงาน
ผลกระทบของการว่างงาน
1.ทำให้เสียสุขภาพจิตเมื่อเกิดการว่างงานขึ้นผู้ที่เคยมีงานทำมักจะคิดฟุ่งซานเเละเกิดปัญหาเครียดตามมาจึงทำให้เสียสุขภาพจิตเเละร่างกาย
2.ก่อให้เกิดปัญหาครอบครัว ผู้ที่ว่างงานอาจจะเป็นหัวหน้าครอบครัวเเล้วเกิดการว่างงานจึงส่งผลให้รายได้ในครอบครัวที่จะเลียงครอบครัวจึงทำให้เกิดปัญหาครอบครัวขึ้น
3.ก่อให้เกิดปัญหาความยากจน
4.ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมบุคครที่ตกงานมักหาเเนวทางเพื่อให้ตนเองมีความอยู่รอดในสังคมได้ บางส่วนก็จะหางานที่สุจริตทำเเตบางส่วนจะจะลกเล็กขโมยน้อยเพื่อให้ตนเองอยู่รอด
5.เป็นผลเสียต่อการพัฒนาประเทศ
และในปีพ .ศ. 2553 นั้นมีการลดลงจำนวนของการว่างงานก็น่าจะเกิดผลกระทบน้อยลงในสังคมเพราะจะเห็นได้จากกราฟว่ามีจำนวนตัวเลขคนว่างงานลดลง
สาเหตุของการว่างงาน
1. เกิดจากจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการผลิตนิสิตออกมาเป็นจำนวนมากไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงานและการว่างงานมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากความต้องการของผู้สำเร็จทางการศึกษาและความต้องการของสถานประกอบการเป็นหลัก
2. การว่างงานเนื่องจาก ผู้สมัครจะคาดหวังกับค่าตอบแทนที่สูงและงานมีความสะดวกสบายแก่ตนจึงทำให้เกิดการเลือกงาน
3. สภาวะเศรษฐกิจในสภาพเศรษฐกิจ ในสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้เป็นสาเหตุแกผู้ที่ประกอบการส่งผลให้เกิดการปลดพนักงานออกเป็นบางส่วนเพื่อให้เกิดความสมดุลในการประกอบอาชีพ
จึงส่งผลทำให้มีคนว่างงานเยอะมาก
วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557
การแก้ไขปัญหาการว่างงาน
1. การแก้ปัญหาการว่างงานชั่วคราว ทำได้โดยการให้บริการข่าวสารแก่คนงานและนายจ้างเพื่อให้ทราบแหล่งงานหรือจัดตลาดนัดแรงงานเพื่อให้คนงานและนายจ้างพบกันขึ้นสะดวก
2. การแก้ไขปัญหาการว่างงานตามฤดูกาล ทำได้โดยการกระตุ้นให้คนงานทำงานอื่นๆ เมื่อพ้นฤดูกาลทำงานประจำ
3. การแก้ปัญหาการว่างงานเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง
3.1.โครงสร้างทาง-เศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีถ้าหากมีการนำมาใช้โดยไม่จำเป็น รัฐบาลก็อาจต้องมีการเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นขณะเดียวกัน ต้องมีการศึกษาฝึกหัดอบรมคนงานให้มีความสามารถที่จะโยกย้ายงานได้
3.2. นโยบายการเงิน รัฐบาลควรใช้มาตรการทางการเงินเพื่อเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศซึ่งจะมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง การลงทุนของประเทศสูงขึ้น การผลิต การจ้างงานขยายตัว
2. การแก้ไขปัญหาการว่างงานตามฤดูกาล ทำได้โดยการกระตุ้นให้คนงานทำงานอื่นๆ เมื่อพ้นฤดูกาลทำงานประจำ
3. การแก้ปัญหาการว่างงานเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง
3.1.โครงสร้างทาง-เศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีถ้าหากมีการนำมาใช้โดยไม่จำเป็น รัฐบาลก็อาจต้องมีการเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นขณะเดียวกัน ต้องมีการศึกษาฝึกหัดอบรมคนงานให้มีความสามารถที่จะโยกย้ายงานได้
3.2. นโยบายการเงิน รัฐบาลควรใช้มาตรการทางการเงินเพื่อเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศซึ่งจะมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง การลงทุนของประเทศสูงขึ้น การผลิต การจ้างงานขยายตัว
3.3. นโยบายการคลัง รัฐบาลต้องเพิ่มการใช้จ่ายและลดอัตราภาษีให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ
เพื่อกระตุ้นการผลิตการส่งออกและการบริโภค ส่งผลให้การจ้างงานสูงขึ้น
3.4. นโยบายการศึกษา การวางแผนการศึกษาให้กับประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษา และต้องกำหนดโครงสร้างการศึกษาให้เหมาะสมกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้การศึกษาที่ตรงความต้องการของตลาด และความจำเป็นของประเทศ
3.4. นโยบายการศึกษา การวางแผนการศึกษาให้กับประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษา และต้องกำหนดโครงสร้างการศึกษาให้เหมาะสมกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้การศึกษาที่ตรงความต้องการของตลาด และความจำเป็นของประเทศ
ประเภทของการว่างงาน
1.) การว่างงานชั่วคราว (Frictional
Unemployment) เป็นการว่างงานในระยะสั้น
สาเหตุมาจากความไม่สมบูรณ์ของตลาดแรงงานในด้านต่างๆ เช่น ข้อมูล การคมนาคม เป็นต้น
2.) การว่างงานตามฤดูกาล (Seasonal Unemployment) เป็นการว่างงานที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลพบส่วนใหญ่ในภาคเกษตรกรรม ส่วนสาขาการผลิตอื่นๆ ที่เกิดการว่างงานประเภทนี้เช่น ภาคก่อสร้าง เป็นต้น
3.) การว่างงานเนื่องจากโครงสร้างของเศรษฐกิจ (Structural Unemployment) การว่างงานประเภทนี้เกิดจากการที่แรงงานไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจได้เช่น เทคโนโลยีการผลิต การย้ายแหล่งอุตสาหกรรม เป็นต้น
4.) การว่างงานเนื่องจากวัฐจักรเศรษฐกิจ (Cyclical Unemployment) เป็นการว่างงานที่เกิดจาก เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งสินค้าขายไม่ออก ผู้ผลิตต้องลดการผลิตและการจ้างงานตามมา
5.) การว่างงานแฝง (Disguised Unemployment) เกิดจากการที่มีจำนวนแรงงานเกินความจำเป็น ส่วนใหญ่พบในภาคเกษตรกรรม บุคคลที่ว่างงานแฝงจะทำงานต่ำกว่าระดับ (Underemployment)
2.) การว่างงานตามฤดูกาล (Seasonal Unemployment) เป็นการว่างงานที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลพบส่วนใหญ่ในภาคเกษตรกรรม ส่วนสาขาการผลิตอื่นๆ ที่เกิดการว่างงานประเภทนี้เช่น ภาคก่อสร้าง เป็นต้น
3.) การว่างงานเนื่องจากโครงสร้างของเศรษฐกิจ (Structural Unemployment) การว่างงานประเภทนี้เกิดจากการที่แรงงานไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจได้เช่น เทคโนโลยีการผลิต การย้ายแหล่งอุตสาหกรรม เป็นต้น
4.) การว่างงานเนื่องจากวัฐจักรเศรษฐกิจ (Cyclical Unemployment) เป็นการว่างงานที่เกิดจาก เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งสินค้าขายไม่ออก ผู้ผลิตต้องลดการผลิตและการจ้างงานตามมา
5.) การว่างงานแฝง (Disguised Unemployment) เกิดจากการที่มีจำนวนแรงงานเกินความจำเป็น ส่วนใหญ่พบในภาคเกษตรกรรม บุคคลที่ว่างงานแฝงจะทำงานต่ำกว่าระดับ (Underemployment)
ความหมายของการว่างงาน
การว่างงาน (Unemployment)
หมายถึง
ภาวการณ์ที่บุคคลในวัยแรงงานที่พร้อมจะทำงานแต่ไม่สามารถหางานทำได้ หรือเจ็บป่วย
รองานใหม่ หางานที่เหมาะสมไม่ได้ บุคคลในวัยแรงงานจะพิจารณาผู้ที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป
ส่วนแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในวัยแรงงาน ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา นักบวช
ผู้ที่เกษียณอายุ ผู้เจ็บป่วยพิการทางร่างกายและสติปัญญา
และผู้ทำงานอยู่ในครัวเรือน
ซึ่งขนาดของบุคคลในวัยแรงงานเล็กกว่าขนาดของประชากรของประเทศ (Total
Population) เพราะประชากรของประเทศประกอบด้วยเด็ก
ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวัยแรงงาน และผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)