สถานการณ์ต่างๆในปัจจุบันนี้ กำลังทำให้ใครหลายคนอยู่ในภาวะที่ไม่สงบ หนึ่งในผลกระทบที่รุนแรงมากที่สุดทางเศรษฐกิจ ก็คือ ปัญหาการตกงาน ครั้งหนึ่ง คุณต้องรีบเร่งเพื่อไปให้ทันการประชุมครั้งสำคัญ หลังจากนั้น คุณถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลเรียกพบ แล้วกลับออกมาพร้อมกลับการตกงานภายในเวลาเพียง 10 นาที หลายคนไม่อยากเชื่อว่าจะเกิดขึ้นกับพวกเขา แต่การถูกลอยแพ การตกงาน การปรับเปลี่ยนตำแหน่ง และการไล่ออก ก็กลายมาเป็นเงื่อนไขธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยไม่เลือกอายุ เชื้อชาติ หรืออาชีพ ก็ทำให้พวกเขาต้องตระหนักถึงสิ่งเหล่านั้น
วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ประโยชน์ของตัวเลขการว่างงาน
1.เป็นเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานในประเทศจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถบอกภาวะเศรษฐกิจได้เช่น ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ อัตราการว่างงานค่อนข้างสูง ในช่วงภาวะเศรษฐกิจขยายตัว อัตราการว่างงานจะลดลง อย่างไรก็ตาม แม้ในช่วงที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง การจ้างงานขยายตัวมากจนถึงระดับการจ้างงานเต็มที่ (full employment) อัตราการว่างงานก็ยังมีค่ามากกว่าศูนย์ เรียกอัตราการว่างงาน ณ ระดับการจ้างงานเต็มที่ว่า อัตราการว่างงานตามธรรมชาติ (The Natural Rate of Unemployment) หรืออัตราการว่างงานที่เป็นเป้าหมาย (The Target Rate of Unemployment) จะถือว่า การว่างงานดังกล่าวไม่เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ
2.เป็นเครื่องชี้อัตราการว่างงานในประเทศ ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนแก้ปัญหาโดยการดำเนินนโยบายสร้างงานให้แก่แรงงานของประเทศเพื่อให้มีรายได้ใช้ในการบริโภค และประเทศสามารถใช้ประโยชน์จากแรงงานได้อย่างเต็มที่ เกิดผลดีแก่เศรษฐกิจของแรงงานและของประเทศ
3.เป็นเครื่องชี้การจัดทำงบประมาณการจ่ายเงินชดเชยการว่างงาน ในประเทศที่มีระบบประกันสังคม มีกองทุนจ่ายเงินทดแทนการว่างงาน กองทุนจะต้องจัดทำงบประมาณรายจ่ายเงินทดแทนการว่างงานซึ่งต้องอาศัยตัวเลขอัตราว่างงาน
ผลกระทบของการว่างงาน
1.ทำให้เสียสุขภาพจิตเมื่อเกิดการว่างงานขึ้นผู้ที่เคยมีงานทำมักจะคิดฟุ่งซานเเละเกิดปัญหาเครียดตามมาจึงทำให้เสียสุขภาพจิตเเละร่างกาย
2.ก่อให้เกิดปัญหาครอบครัว ผู้ที่ว่างงานอาจจะเป็นหัวหน้าครอบครัวเเล้วเกิดการว่างงานจึงส่งผลให้รายได้ในครอบครัวที่จะเลียงครอบครัวจึงทำให้เกิดปัญหาครอบครัวขึ้น
3.ก่อให้เกิดปัญหาความยากจน
4.ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมบุคครที่ตกงานมักหาเเนวทางเพื่อให้ตนเองมีความอยู่รอดในสังคมได้ บางส่วนก็จะหางานที่สุจริตทำเเตบางส่วนจะจะลกเล็กขโมยน้อยเพื่อให้ตนเองอยู่รอด
5.เป็นผลเสียต่อการพัฒนาประเทศ
และในปีพ .ศ. 2553 นั้นมีการลดลงจำนวนของการว่างงานก็น่าจะเกิดผลกระทบน้อยลงในสังคมเพราะจะเห็นได้จากกราฟว่ามีจำนวนตัวเลขคนว่างงานลดลง
สาเหตุของการว่างงาน
1. เกิดจากจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการผลิตนิสิตออกมาเป็นจำนวนมากไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงานและการว่างงานมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากความต้องการของผู้สำเร็จทางการศึกษาและความต้องการของสถานประกอบการเป็นหลัก
2. การว่างงานเนื่องจาก ผู้สมัครจะคาดหวังกับค่าตอบแทนที่สูงและงานมีความสะดวกสบายแก่ตนจึงทำให้เกิดการเลือกงาน
3. สภาวะเศรษฐกิจในสภาพเศรษฐกิจ ในสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้เป็นสาเหตุแกผู้ที่ประกอบการส่งผลให้เกิดการปลดพนักงานออกเป็นบางส่วนเพื่อให้เกิดความสมดุลในการประกอบอาชีพ
จึงส่งผลทำให้มีคนว่างงานเยอะมาก
วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557
การแก้ไขปัญหาการว่างงาน
1. การแก้ปัญหาการว่างงานชั่วคราว ทำได้โดยการให้บริการข่าวสารแก่คนงานและนายจ้างเพื่อให้ทราบแหล่งงานหรือจัดตลาดนัดแรงงานเพื่อให้คนงานและนายจ้างพบกันขึ้นสะดวก
2. การแก้ไขปัญหาการว่างงานตามฤดูกาล ทำได้โดยการกระตุ้นให้คนงานทำงานอื่นๆ เมื่อพ้นฤดูกาลทำงานประจำ
3. การแก้ปัญหาการว่างงานเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง
3.1.โครงสร้างทาง-เศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีถ้าหากมีการนำมาใช้โดยไม่จำเป็น รัฐบาลก็อาจต้องมีการเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นขณะเดียวกัน ต้องมีการศึกษาฝึกหัดอบรมคนงานให้มีความสามารถที่จะโยกย้ายงานได้
3.2. นโยบายการเงิน รัฐบาลควรใช้มาตรการทางการเงินเพื่อเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศซึ่งจะมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง การลงทุนของประเทศสูงขึ้น การผลิต การจ้างงานขยายตัว
2. การแก้ไขปัญหาการว่างงานตามฤดูกาล ทำได้โดยการกระตุ้นให้คนงานทำงานอื่นๆ เมื่อพ้นฤดูกาลทำงานประจำ
3. การแก้ปัญหาการว่างงานเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง
3.1.โครงสร้างทาง-เศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีถ้าหากมีการนำมาใช้โดยไม่จำเป็น รัฐบาลก็อาจต้องมีการเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นขณะเดียวกัน ต้องมีการศึกษาฝึกหัดอบรมคนงานให้มีความสามารถที่จะโยกย้ายงานได้
3.2. นโยบายการเงิน รัฐบาลควรใช้มาตรการทางการเงินเพื่อเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศซึ่งจะมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง การลงทุนของประเทศสูงขึ้น การผลิต การจ้างงานขยายตัว
3.3. นโยบายการคลัง รัฐบาลต้องเพิ่มการใช้จ่ายและลดอัตราภาษีให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ
เพื่อกระตุ้นการผลิตการส่งออกและการบริโภค ส่งผลให้การจ้างงานสูงขึ้น
3.4. นโยบายการศึกษา การวางแผนการศึกษาให้กับประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษา และต้องกำหนดโครงสร้างการศึกษาให้เหมาะสมกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้การศึกษาที่ตรงความต้องการของตลาด และความจำเป็นของประเทศ
3.4. นโยบายการศึกษา การวางแผนการศึกษาให้กับประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษา และต้องกำหนดโครงสร้างการศึกษาให้เหมาะสมกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้การศึกษาที่ตรงความต้องการของตลาด และความจำเป็นของประเทศ
ประเภทของการว่างงาน
1.) การว่างงานชั่วคราว (Frictional
Unemployment) เป็นการว่างงานในระยะสั้น
สาเหตุมาจากความไม่สมบูรณ์ของตลาดแรงงานในด้านต่างๆ เช่น ข้อมูล การคมนาคม เป็นต้น
2.) การว่างงานตามฤดูกาล (Seasonal Unemployment) เป็นการว่างงานที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลพบส่วนใหญ่ในภาคเกษตรกรรม ส่วนสาขาการผลิตอื่นๆ ที่เกิดการว่างงานประเภทนี้เช่น ภาคก่อสร้าง เป็นต้น
3.) การว่างงานเนื่องจากโครงสร้างของเศรษฐกิจ (Structural Unemployment) การว่างงานประเภทนี้เกิดจากการที่แรงงานไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจได้เช่น เทคโนโลยีการผลิต การย้ายแหล่งอุตสาหกรรม เป็นต้น
4.) การว่างงานเนื่องจากวัฐจักรเศรษฐกิจ (Cyclical Unemployment) เป็นการว่างงานที่เกิดจาก เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งสินค้าขายไม่ออก ผู้ผลิตต้องลดการผลิตและการจ้างงานตามมา
5.) การว่างงานแฝง (Disguised Unemployment) เกิดจากการที่มีจำนวนแรงงานเกินความจำเป็น ส่วนใหญ่พบในภาคเกษตรกรรม บุคคลที่ว่างงานแฝงจะทำงานต่ำกว่าระดับ (Underemployment)
2.) การว่างงานตามฤดูกาล (Seasonal Unemployment) เป็นการว่างงานที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลพบส่วนใหญ่ในภาคเกษตรกรรม ส่วนสาขาการผลิตอื่นๆ ที่เกิดการว่างงานประเภทนี้เช่น ภาคก่อสร้าง เป็นต้น
3.) การว่างงานเนื่องจากโครงสร้างของเศรษฐกิจ (Structural Unemployment) การว่างงานประเภทนี้เกิดจากการที่แรงงานไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจได้เช่น เทคโนโลยีการผลิต การย้ายแหล่งอุตสาหกรรม เป็นต้น
4.) การว่างงานเนื่องจากวัฐจักรเศรษฐกิจ (Cyclical Unemployment) เป็นการว่างงานที่เกิดจาก เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งสินค้าขายไม่ออก ผู้ผลิตต้องลดการผลิตและการจ้างงานตามมา
5.) การว่างงานแฝง (Disguised Unemployment) เกิดจากการที่มีจำนวนแรงงานเกินความจำเป็น ส่วนใหญ่พบในภาคเกษตรกรรม บุคคลที่ว่างงานแฝงจะทำงานต่ำกว่าระดับ (Underemployment)
ความหมายของการว่างงาน
การว่างงาน (Unemployment)
หมายถึง
ภาวการณ์ที่บุคคลในวัยแรงงานที่พร้อมจะทำงานแต่ไม่สามารถหางานทำได้ หรือเจ็บป่วย
รองานใหม่ หางานที่เหมาะสมไม่ได้ บุคคลในวัยแรงงานจะพิจารณาผู้ที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป
ส่วนแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในวัยแรงงาน ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา นักบวช
ผู้ที่เกษียณอายุ ผู้เจ็บป่วยพิการทางร่างกายและสติปัญญา
และผู้ทำงานอยู่ในครัวเรือน
ซึ่งขนาดของบุคคลในวัยแรงงานเล็กกว่าขนาดของประชากรของประเทศ (Total
Population) เพราะประชากรของประเทศประกอบด้วยเด็ก
ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวัยแรงงาน และผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)